“สถานที่แต่ละแห่งในภาพถ่ายไม่ได้มีความสลักสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่กลับย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงของรัฐและระบบที่เอื้อให้คนผิดพ้นโทษซึ่งมีมานานแล้วในสังคม ภาพถ่ายของผู้เสียชีวิตที่หยิบยกมาถูกล้อมด้วยกรอบของกาลเวลา และนำมาจัดวางบนสถานที่เกิตเหตุในเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนชะตากรรมในอดีตที่เชื่อมโยงถึงรัฐและระบบกฏหมายของไทย”
คาริน เอช ซาชารี นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต ด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยลุนด์
โลกของเรากำลังตกอยู่ในห้วงเวลาที่สำคัญ เราเรียนรู้และเข้าใจโลกใบนี้มากกว่าก่อน แต่โลกกลับเผชิญภัยคุกคามในทุกมิติ ปัจจุบัน ผู้คนมากมายกำลังลุกขึ้นมาปกป้องบ้านเกิด และชุมชนจากโครงการของบรรษัทหรือรัฐที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงชุมชนและผู้คนที่ได้รับผลกระทบ หลายชีวิตทั่วโลกต้องสูญเสียไปเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ทั้งจากการเปิดโปงการทิ้งขยะ การทำลายป่าอย่างผิดกฎหมาย การแย่งยึดที่ดิน และการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ก่อมลพิษ
ในประเทศไทย ข้อมูลชิ้นสำคัญที่สะท้อนการคุกคามผู้ที่ลุกขึ้นสู้คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้นำชุมชนในช่วงปี 2516 และ 2519 จากหนังสือเส้นทางชาวนาไทย (ปี 2542) ของนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ระบุว่าในช่วงเวลานั้นมีแกนนำเกือบ 50 คนจากสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยถูกสังหารหรือไม่ก็ถูกทำร้าย
รายงานล่าสุดขององค์กร Protection International ได้บันทึกกรณีวิสามัญฆาตกรรมและการบังคับให้สูญหายของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกว่า 62 คดีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถดถอยในแง่ความรุนแรงต่อผู้หญิงและนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงระบบลบล้างความผิดโดยมิชอบที่ยังมีอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญความรุนแรงและความอยุติธรรม ในประเทศไทย คนที่ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางมักถูกกำจัดออกไป ผู้กระทำผิดเองก็อาจไม่ได้รับโทษเนื่องจากอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่เหนือความเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ ผลกระทบของเหตุลอบสังหารที่มีในชุมชนเล็กๆ จึงนับเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่
โปรเจกต์นี้เป็นความร่วมมื
สิ่งสำคัญสำหรับนักต่อสู้และครอบครัวของผู้เสียชีวิต คือการต่อสู้และความสูญเสียจะต้องไม่ถูกมองข้ามหรือลืมเลือนไปกับกาลเวลา เหนือสิ่งอื่นใดผู้กระทำผิดหรือใช้อำนาจในทางมิชอบจะต้องไม่ลอยนวล การรำลึกถึงนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมจึงเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การหยุดคร่าชีวิตผู้คน
พวกเขาจะต้องไม่ถูกลืม
นิทรรศการ
MAIIAM Contemporary Art Gallery – Chiang Mai, Thailand
European Parliament – Brussels, Belgium
United Nations, Palais des Nations – Geneva, Switzerland
Cultuurcentrum Mechelen – Belgium
Mahasarakham University – Thailand
Prince of Songkhla University – Hat Yai, Thailand
Chiang Mai Photo Festival – Thailand
Bangkok Arts and Cultural Centre – Thailand
DOOR – Dordrecht, Netherlands
Casa de la Juventud – Pamplona, Spain

พูดต่อหน้าสาธารณะ
ช่างภาพลูค ดุกเกิลบี พูดถึงโปรเจค For Those Who Died Trying (แด่นักสู้ผู้จากไป) ที่ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยยอร์ก และที่มหาวิทยาลัย SOAS แห่งลอนดอน และได้นำเสนอถึงที่มาและการทำงานของโปรเจค For Those Who Died Trying ที่งาน TEDx ขอนแก่นในปี 2561