8 ปี 450 ราย ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิไทยถูกฟ้องปิดปาก

ภาพ : ลูค ดุกเกิลบี/HaRDstories
ภาพ: ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิตกเป็นเป้าคุกคามด้วยกฎหมายเพราะออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ ผู้ประท้วงชุมนุมหน้าที่ทำการยูเอ็น กรุงเทพฯ เมื่อพฤษภาคมเพื่อคัดค้านการออกร่างกฎหมายใหม่ที่จะปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและรวมกลุ่มของชุมชน / ลูค ดุกเกิลบี 

ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิไทยถูกฟ้องปิดปาก 450 รายใน 8 ปี ชุมชนและเครือข่ายร้องให้คุ้มครองนักปกป้องสิทธิจากการคุกคามทางกฎหมาย

71 องค์กรและชุมชนทั่วไทยกับอีกกว่า 10 ประเทศในเอเชียส่งจดหมายเปิดผนึก ร้องรัฐบาลไทยให้คุ้มครองนักปกป้องสิทธิจากการใช้กฎหมายคุกคาม โดยจดหมายดังกล่าวเผยแพร่หนึ่งวันก่อนหน้าการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่มีความรับผิดชอบ ครั้งที่ 4 ในเอเชียแปซิฟิก 20-22 กันยายนที่กรุงเทพฯ

จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการเข้าแทรกแซงและชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของรัฐบาลไทยในการบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) แผนปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นแผนแรกในเอเชียที่พูดเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน จดหมายยังเน้นถึงการคุกคามนักปกป้องสิทธิ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ลุกขึ้นส่งเสียงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิด้านต่างๆ แล้วโดนคุกคามด้วยกฎหมาย

เครือข่ายเผยว่าช่วงแปดปีที่ผ่านมา นับแต่การทำรัฐประหารในไทย มีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกว่า 450 คนตกเป็นเหยื่อการข่มขู่และการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (Strategic Lawsuits Against Public Participation: SLAPP) หนึ่งในนั้นรวมถึงอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนและผู้เคลื่อนไหวเรื่องการอุ้มหาย

ตุลาคมนี้ ประเทศไทยจะสิ้นสุดการบังคับใช้แผนปฏิบัติกล่าวดังกล่าว ระยะที่หนึ่ง กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้จัดงานรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงในแผนปฏิบัติการระยะที่สองสำหรับห้าปีถัดจากนี้ ระหว่าง 2566-2570

 

error: Content is protected !!