กรุงเทพกับความฝันให้บริการทำแท้งอย่างเท่าเทียม?
กรุงเทพฯ – ประเทศไทยเปิดให้การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายแล้วกว่าสองปี แต่การเข้าถึงบริการยังเป็นเรื่องยาก แม้แต่ในเมืองหลวง

- Published ตุลาคม 4, 2023
- 2 min read
กรุงเทพฯ – ประเทศไทยเปิดให้การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายแล้วกว่าสองปี แต่การเข้าถึงบริการยังเป็นเรื่องยาก แม้แต่ในเมืองหลวง
30 กันยายน “กลุ่มทำทาง” ที่ส่งเสริมการทำแท้งปลอดภัยและเสรีจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันทำแท้งปลอดภัยสากลที่ Kinjai Gallery งานมีการจัดนิทรรศการและวิทยากรจากหลากหลายพื้นเพ ไม่ว่าจะตัวแทนส.ส.พรรคก้าวไกล ผู้ประกาศข่าวและตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค ซึ่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำแท้งและร่วมเรียกร้องให้การบริการทำแท้งในกรุงเทพเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
กฎหมายปะทะความเป็นจริง
กลุ่มทำทางเผยว่ากรุงเทพมีโรงพยาบาลรัฐกว่า 22 แห่ง แต่ไม่มีที่ไหนให้บริการทำแท้งเสรีโดยปราศจากการตั้งเงื่อนไข (เช่น บางโรงพยาบาลทำให้เฉพาะกรณีข่มขื่น) แม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถึงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ถึงแม้ว่ากฎหมายไทยจะเหมือนเปิดให้บริการทำแท้งได้เสรี แต่ไม่ได้บังคับให้แพทย์ให้บริการ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกฎหมายกับความเป็นจริง เมื่อแพทย์หลายคนยังคงปฏิเสธให้บริการ
“เรามีพร้อมหมดแล้ว นโยบาย เทคโนโลยีหรือบุคลาทางการแพทย์” กลุ่มทำทางซึ่งรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัยมา 13 ปีแล้วยืนยัน “แต่น่าเสียดายที่ติดกับทัศนคติของผู้ให้บริการ”
เมื่อทำแท้งในโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพไม่ได้ หลายคนจึงต้องเดินทางกว่า 140 กิโลเมตรไปสถานบริการรัฐที่ใกล้ที่สุดที่สิงห์บุรี หรือว่าใช้บริการคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนกว่า 109 แห่งในกรุงเทพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000-20,000 บาท ถึงแม้สถานบริการเอกชนบางแห่งจะให้ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ได้ แต่ครอบคลุมเพียงแค่ 3,000 บาท
การทำแท้งยิ่งเป็นเรื่องยากสำหรับแรงงานข้ามชาติ แม้ว่าจะมีสิทธิตามประกันสังคม ทว่ามักจะถูกปฏิเสธการให้บริการ สถิติล่าสุดของกรมจัดหางานเผยว่าในกรุงเทพ มีแรงงานข้ามชาติหญิงมากกว่า 270,000 คน
“การทำแท้งยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยอยู่แล้วยังต้องใช้เวลา แต่ผมมองว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น” นพ.สุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพฯ กล่าว
นุชนารถ แท่นทอง อดีตประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาคเผยว่าสี่สิบปีก่อน การทำแท้งผิดกฎหมายมีค่าใช้จ่ายอย่างต่ำ 3,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินก้อนใหญ่มากสำหรับวัยรุ่นอายุ 15 อย่างเธอตอนนั้น ถ้าเธอไม่ได้รวบรวมความกล้าบอกให้แม่รู้ก็คงไม่สามารถทำ…ความลำบากใจที่ผู้หญิงในสถานการณ์คล้ายกันจะต้องเผชิ
“พอทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายในไทยแล้ว ปัญหาวันนี้คือเรื่องความเหลื่อมล้ำ” รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกล่าว
Other news
- 17 พฤศจิกายน 2023
- by ณิชา เวชพานิช
- 25 ตุลาคม 2023
- by ณิชา เวชพานิช
- 4 ตุลาคม 2023
- by ณิชา เวชพานิช
- 29 กันยายน 2023
- by ณิชา เวชพานิช