เฮือกสุดท้าย ดันเขื่อนวังหีบ?

สถานการณ์โครงการเขื่อนวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ชุมชนหวั่นโครงการมูลค่าสองพันล้านบาทถูกไล่รื้อและท่วมป่าต้นน้ำ

ภาพ : วุฒิชัย แก้วลำหัด
ภาพ : หมุดปักหลักเพื่อระบุตำแหน่งน้ำท่วมที่เจ้าหน้าที่ได้พยายามปักเมื่อ 12 มิถุนายน 2566 โดย วุฒิชัย แก้วลำหัด

กรุงเทพฯ  – สถานการณ์เขื่อนวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ชุมชนหวั่นโครงการอ่างเก็บน้ำจะไล่รื้อชุมชนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อประเทศไทยที่คาดว่าจะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในปีนี้  

เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าปลายคลองวังหีบจัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำเกรดเอเนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นป่าต้นน้ำแหล่งน้ำในพื้นที่ ทว่าความขัดแย้งกลับมาปะทุอีกครั้งเมื่อ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา 

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังหีบมีความจุ 26 ล้านลูกบาศก์ลิตรและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริเพื่อพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการทำนาที่ริเริ่มกว่าสามสิบปีก่อน นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาน้ำท่วมและเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชุมชนรอบข้างพื้นที่โครงการได้คัดค้านต่อเนื่องหลายปี นำไปสู่การประเมินโครงการใหม่อีกครั้ง

วันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กว่า 40 ราย ประกอบด้วยตัวแทนจากกรมชลประทาน ตำรวจตระเวนชายแดนและหน่วยงานท้องถิ่น เข้าไปในพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะถูกน้ำท่วมหากโครงการเขื่อนสร้างขึ้น เจ้าหน้าที่พยายามปักหมัดระบุตำแหน่งน้ำท่วมและจุดที่ต้องเยียวผลกระทบ นำไปสู่การเผชิญหน้ากับชุมชนที่คัดค้าน

“เราไม่ต้องการเขื่อน ความต้องการของชุมชนเปลี่ยนไปแล้วไม่เหมือนตอนที่โครงการเริ่มต้นเสนอ” วุฒิชัย แก้วลำหัด ชาวบ้านในพื้นที่และแกนนำกลุ่มอนุรักษ์กล่าว เขาเลี้ยงชีพด้วยการทำสวนยางซึ่งอาศัยน้ำฝนมากกว่าน้ำชลประทาน เช่นเดียวกับชาวบ้านอีกหลายคนในอ.ทุ่งสง

เขาและชุมชนมองว่าชาวบ้านในพื้นที่หลายคนได้เปลี่ยนจากการทำนาสมัยก่อนเป็นการทำสวนยางซึ่งไม่ต้องพึ่งพาโครงการอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ชาวบ้านหลายสิบครัวเรือนจะต้องสูญเสียบ้านและพื้นที่ทำกินหากเขื่อนสร้างขึ้น

วุฒิชัยกับกลุ่มอนุรักษ์เคยพยายามสร้างรั้วเหล็กกั้นถนนขึ้นไปพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อกันไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่ทำโครงการ นายอำเภอในช่วงเวลานั้นได้แจ้งข้อหาเขาฐานพยายามเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินสาธารณะที่จะกระทบกับการจราจร แต่ว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ศาลได้ปฏิเสธไม่รับฟ้องคดี

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการเขื่อนเมื่อปี 2561 โดยจัดสรรงบประมาณ 2,377 ล้านบาทและระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี แต่โครงการได้ชะลอการก่อสร้างไปจนกว่าจะสร้างความเข้าใจร่วมกับชุมชน

กรมชลประทานได้กลับมาทบทวนโครงการอีกครั้งเมื่อมกราคม 2566 โดยได้จัดเวทีในพื้นที่กับชุมชน อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ยังมองว่าหน่วยงานไม่ได้นำความคิดเห็นของชุมชนไปพิจารณาร่วมอย่างแท้จริง “เราคิดว่าเขาอยากดันโครงการปีนี้ให้เสร็จก่อนที่ระยะเวลางบประมาณจะหมดอายุ แถมยิ่งตอนนี้การเมืองไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านด้วย” วุฒิชัยว่า

 

error: Content is protected !!