ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม

ณ ฐานที่มั่นเก่าพรรคคอมมิวนิสต์จังหวัดน่าน หมู่บ้านชาวลัวะกำลังเผชิญศึกครั้งใหม่จากมลพิษทางอากาศ ที่อาจมีต้นตอจากโรงไฟฟ้าถ่านหินใหญ่สุดในลาว เมื่อเขตแดนไม่อาจหยุดภัยคุกคาม พวกเขาหันหน้าเข้าหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เหมืองทองปิดตัว ศาลสั่งชดเชยและฟื้นฟูธรรมชาติแก่ชุมชน แม้การต่อสู้คัดค้านเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ “บ้านนาหนองบง” เหมือนจะจบ แต่เส้นทางฟื้นฟูยังคงเชื่องช้า และชุมชนก็ยังต้องสู้ต่อ
ท่ามกลางความกังขาต่อการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาในไทย เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวินฟ้องศาลปกครองขอให้ยุติโครงการพันล้านบาท “ผันน้ำยวม”
ไทยลงนามซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนปากแบงในลาว ด้วยระยะเวลาซื้อขายทั้งหมด 29 ปี โดยไม่รับฟังเสียงของประชาชนที่กังวลด้านผลกระทบ
รัฐบาลเดินหน้าจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนไม่ต่ำกว่า 44,000 ไร่ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบรรษัทระดับแถวหน้าของประเทศไทย ตามนโยบาย “คาร์บอนเครดิต” ขณะที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางส่วนตั้งคำถามถึง “ความโปร่งใส” ของโครงการ
ปิยะ เทศแย้ม ลูกทะเลผู้นำชุมชนประมงพื้นบ้านปกป้องทะเลจากการทำประมงผิดกฎหมาย ภารกิจสุ่มเสี่ยงในประเทศที่การมีกฎหมายไม่พอแก้ปัญหา
ศาลปกครองตัดสินให้ข้อบัญญัติท้องถิ่นออกใหม่ที่สระบุรี เอื้อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะใกล้ชุมชน ไม่ผิดกฎหมาย ท่ามกลางความกังวลของชุมชน
เมื่อสายน้ำท่วมในหน้าแล้ง แต่ระบบนิเวศกลับเหือดแห้งในหน้าฝน ชุมชนลุ่มน้ำโขงและนักวิชาการไทยจุดประกายแนวคิดอนุรักษ์ที่ขบถท้าทายมุมมองเก่าเกี่ยวกับความสัมพันธ์มนุษย์​กับสิ่งรอบข้าง…จะเป็นไปได้ไหม หากเรารับรองให้แม่น้ำ ปลา และสรรพสิ่งสามารถทวงสิทธิที่จะมีชีวิต
วันที่ 13 มกราคม 2566 กลุ่มติดตามมลพิษในประเทศไทย “หยุดภัยมลพิษ Pollution-Free EARTH”  รายงานการจัดงานประชาคมครั้งแรกโครงการโรงไฟฟ้าใกล้ชุมชนมุสลิมในต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
error: Content is protected !!