เกี่ยวกับเรา
เราคือใคร
HaRDstories คือสื่ออิสระไม่แสวงหากำไร มุ่งเป็นพื้นที่เล่าเรื่องราวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและชุมชนทั่วไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2564 โดยมูลนิธิ Equal Narratives เราลงลึกในประเด็นที่ถูกมองข้าม เปิดเวทีให้เสียงที่สังคมอาจไม่เคยได้ยินและเรื่องราวที่ไม่ได้รับการเผยแพร่
เราเน้นเรื่องอะไร
เราเน้นนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม เพศสภาพ และสิทธิแรงงานกับชนกลุ่มน้อย งานเชิงลึกของเราตั้งใจฉายแสงประเด็นที่ละเมิดหักหลังความไว้วางใจของสาธารณะ นอกจากนี้ยังต่อไฟความสนใจของผู้อ่านแก่ประเด็นที่สื่อกระแสหลักอาจนำเสนอแค่ชั่วคราว
แนวทางเล่าเรื่อง
HaRDstories เป็นมากกว่าพื้นที่ให้ข้อมูล แต่ชวนผู้อ่านเข้ามามีส่วนร่วมและจุดประกายความคิด เราบอกเล่าเรื่องความท้าทายทางสิทธิมนุษยชนหลายมิติ พร้อมกับตั้งใจนำเสนอเรื่องราวการยืนหยัดต่อสู้และการหาทางออกของปัญหา HaRDstories ถักทอเรื่องราวเพื่อจุดประกายบทสนทนา กระตุ้นให้เกิดการกระทำเชิงบวก เพื่อเติมเต็มข้อมูลและความหวังแก่ผู้อ่าน
ทีมของเรา
พวกเราคือทีมนักข่าว ช่างภาพ ผู้ผลิตสื่อ และนักแปลไฟแรง เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านงานข่าวและสิทธิมนุษยชนจากหลากหลายประเทศคอยให้คำปรึกษา มุ่งขยายขอบเขตวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ฟูมฟักสังคมให้มีความรอบรู้ มีส่วนร่วม และห่วงใยในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
ความมุ่งมั่นของเรา
เราเชื่อมั่นว่า การสร้างสรรค์ผลงานข่าวคุณภาพจะช่วยผลักดันสิทธิมนุษยชนและฟูมฟักประชาธิปไตยให้เติบโตก้าวหน้าได้ HaRDstories จึงมุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นพื้นที่บอกเล่าเรื่องราวด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการเน้นนำเสนอข้อมูลที่แม่นยำและครอบคลุมทุกด้านสำคัญ เปิดกว้างให้ผู้อ่านทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณะ นักข่าว นักวิชาการ นักกิจกรรมและผู้กำหนดนโยบาย
นักปกป้องสิทธิคือใคร
บทบาทในสังคม
นักปกป้องสิทธิ (Human rights defenders: HRDs) ช่วยพัฒนาสังคม เสริมสร้างสันติภาพประชาธิปไตย เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการเชิงบวกในสังคม มีบทบาทสำคัญในการปกป้องการละเมิดสิทธิและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนสากล
ทุกคนปกป้องสิทธิได้
นักปกป้องสิทธิมีที่มาจากทุกพื้นเพ ชาวนา ผู้หญิง ชาวบ้าน นักกิจกรรมความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ แต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตน ทว่ามีวิสัยทัศน์ร่วมกันคือสังคมที่เรื่อง “สิทธิ” ไม่ใช่แค่ถูกพูดถึงแบบเลื่อนลอย หากเป็นการตระหนักร่วมกัน พวกเขาสู้อย่างสันติเพื่อสิทธิที่หลากหลาย ทั้งเรื่องที่ดิน การอุ้มหาย ไปถึงการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ใครคนหนึ่งที่พยายามยกระดับคุณภาพสิทธิมนุษยชนนี้จึงเข้าข่ายนักปกป้องสิทธิ
การรับรองสถานะและความท้าทาย
ปี 2541 สหประชาชาติ (UN) รองรับบทบาทสำคัญของนักปกป้องสิทธิ นับเป็นการยอมรับความทุ่มเทและความท้าทายที่นักปกป้องสิทธิกำลังเผชิญอยู่ในระดับสากล อย่างไรก็ตาม เส้นทางนั้นไม่ง่าย HRDs มักเผชิญอันตราย ตั้งแต่เจตนาหมายปองทำร้าย การคุกคาม ไปถึงการประณามในสาธารณะ ชี้ให้เห็นว่าการคุ้มครองสนับสนุนนักปกป้องสิทธิเป็นเรื่องด่วนและต้องทำต่อเนื่อง
ส่งเรื่องให้ HaRDstories
เราเปิดรับต้นฉบับจากนักข่าวและช่างภาพประจำอยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับเรื่องราวเชิงลึกด้านสิทธิมนุษยชนและความพยายามของนักปกป้องสิทธิกับชุมชน
เรื่องที่เราเน้น
เราเน้นเนื้อหาที่ตั้งอยู่บนฐานประเด็นสิทธิที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิแรงงาน การส่งเสริมพลัง การกดทับสิทธิ ความยุติธรรมทางเพศ สิทธิชนกลุ่มน้อยและมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม กรุณาเช็คเว็บไซต์ของเราว่าเรื่องที่คุณอยากเสนอสอดคล้องกับธีมของเราก่อนเสนอ
เกณฑ์เปิดรับต้นฉบับ :
- เน้นบุคคลหรือกลุ่มที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก
- ขยายความเข้าใจผู้อ่านเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
- บทความมีความยาวขั้นต่ำ 1,200 คำ
- พร้อมภาพถ่ายคุณภาพสูง
- นำเสนอในรูปแบบบทความเชิงลึก (feature) ประวัติบุคคล (profile) หรือชุดภาพถ่ายเล่าเรื่อง (photo story)
- เนื้อหาภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ หรือทั้งสองภาษาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
เปิดรับเสียงหลากหลาย :
เราต้องการส่งเสริมเนื้อหาที่เล่าเรื่องคนชายขอบซึ่งมักถูกละเลยจากสังคมหรือมองข้ามจากสื่อกระแสหลัก
วิธีเสนอเรื่องให้เรา
แนวทางเสนอเรื่อง :
- ส่งสรุปไอเดียเรื่อง (Pitch) ความยาวไม่เกิน 400 คำ
- สำหรับงานชุดภาพถ่ายเล่าเรื่อง (photo story) ประกอบด้วยภาพถ่ายไม่เกิน 10 รูป
- กรุณาอย่าส่งร่างบทความ (draft) ที่เขียนแล้ว เว้นแต่จะเป็นงานประเภทชุดภาพถ่ายเล่าเรื่องที่เสร็จแล้ว
- หากมีตัวอย่างผลงานและเว็บไซต์รวบรวมผลงาน กรุณาแนบมาพร้อมกัน
- สามารถเสนอทำเรื่องได้ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ระยะเวลาติดต่อกลับ :
หากคุณไม่ได้รับการติดต่อกลับภายในหนึ่งสัปดาห์ กรุณาติดต่อเพื่อสอบถาม
กระบวนการทางบรรณาธิการ :
กองบรรณาธิการ HaRDstories ดำรงความอิสระในกระบวนการทางบรรณาธิการ กองบก. จะเป็นผู้ตัดสินใจสุดท้ายในการแก้ไขงานเพื่อให้ตรงกับสไตล์ของสื่อและเล่าเรื่องได้ชัดเจน ผู้ส่งเรื่องควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องและให้เนื้อหามีความเป็นต้นฉบับ (originality)
สอบถามเพิ่มเติมได้ทางอีเมล editor[at]hardstories[dot]org
ติดต่อเรา
ความคิดเห็นของคุณมีค่า หากคุณต้องการติดต่อเราเพื่อคลายข้อสงสัย หารือความร่วมมือ หรือแบ่งปันความรู้ สามารถกรอกฟอร์มข้างล่างเพื่อติดต่อเรา